วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

ทัศนะเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน

ทัศนะเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน


เทคโนโลยีการศึกษา
          เทคโนโลยีการศึกษา (อังกฤษ: Educational Technology) เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์เอาวิชาการต่างๆ มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งเกิดจากการออกแบบการสอนตามหลักการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของผู้เรียน ความเหมาะสมของสื่อที่สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหาและความสนใจของผู้เรียน
     เทคโนโลยีการศึกษา เป็นคำที่มาจากคำสองคำ คือ เทคโนโลยี ที่มีความหมายว่า เป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งมิได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึง วัสดุและวิธีการด้วย เมื่อมาเชื่อมกับคำว่า การศึกษา เกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการไปส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้

เทคโนโลยีการสอน
      การสอน คือการกระทำทั้หลายที่เป็นระบบของครูเพื่อส่งเสริมให้ความความสะดวกต่อ การเรียนรู้ของผู้เรียน การสนอจึงเป็นระบบของการกระทำของครู ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าระบบ การสอนนั้นย่อมประกอบด้วยหลายส่วน แต่ละส่วนนั้นมีผลต่อกันและกันทุกส่วนในระบบ มุ่งให้ เกิดการเรียนรู้ในตัวผู้เรียน และผลการเรียนรู้นั้นเองมีผลต่อส่วนต่างๆ ในระบบด้วยกิจกรรม ในการสอนนั้น ย่อมมีทั่งกิจกรรมในการเตรียมการ และการปฏิบัติกับผู้เรียน การเตรียมการ นั้นอาจจะได้แก่การเตรียมบทเรียน จัดห้องเรียน จัดอุปกรณ์ในชั้นเรียน การให้คะแนน การ อ่านหนังสือ การนึกถึงพฤติกรรมบางอย่างของนักเรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นตอนที่ครูอยู่คน เดียว ซึ่งเรียกว่า Practive Teaching ตอนสอนที่กระทำร่วมกับนักเรียนนั้นเรียกว่า Interactive Teaching นั้น คุณภาพทางสมองต้องรวดเร็ว ต้องมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว .
Interactive Teaching นั้นมีหลายสถานะ อาจจะเป็นแบบสาธารณะ กึ่งสาธารณะ หรือ เป็นส่วนตัว การสอนแบบสาธารณะนั้นครูกับนักเรียนหันหน้าเข้าหากัน ส่วนแบบส่วนตัวนั้น อาจ นั่งเคียงกัน เสียงเบาลง เกิดความเป็นกันเองมาก และมีการสอดแทรกมากกว่า
เทคโนโลยีการสอน (Instructional Technology) หมายถึงการออกแบบ การพัฒนาการใช้ และการประเมินผลการเรียนการสอนอย่างมีระบบ โดยยึดจุดประสงค์เฉพาะ การวิจัยเกี่ยวกับ การเรียนรู้และการสื่อสารของมนุษย์เป็นพื้นฐาน รวมทั้งการใช้แหล่ง ทรัพยากรมนุษย์ร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลเป็นการสอนที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ จากความ หมายดังกล่าว เราจะเห็นว่าเทคโนโลยีทางการสอนนั้น เป็นการจัดการเกี่ยวกับการสอนที่มี ระบบ ซึ่งจะต้องพิจารณาส่วนต่างๆ ที่ประกอบกันเข้าหลายส่วน เริ่มตั้งแต่จุดประสงค์ และส่วน อื่นๆ ซึ่งมีทั้ง เป็นเรื่องของคน และมิใช่คน การพิจารณาการออกแบบและการปฏิบัติ เช่นนี้จะต้องอาศัย ผลของการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ และการสื่อสารของมนุษย์ จะถือว่า การกระทำทุกขั้นตอน และทุกส่วนนั้นเป็นระบบเดียวกัน ทุกส่วนมีผลเกี่ยวเนื่องกัน การเปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่ง ย่อมมีผลทำให้เปลี่ยนแปลงส่วนอื่นๆ ไปด้วย ที่ว่าการออกแบบ การพัฒนา การใช้ และ การประเมินผลการเรียนการสอนอย่างมีระบบนั้น คำว่า ระบบ (System) นั้น มีผู้ให้ คำจำกัดความไว้หลายแห่ง เช่น Webster's Seventh New Collegiate Dictionary ได้ให้ความหมายของระบบไว้ว่า เป็นกลุ่มของสิ่งต่างๆ ซึ่งต่างก็พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน หรือมีปฏิพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดส่วนรวม ที่เป็นเอกภาพ บางคนกล่าวว่า เป็นโครงสร้างหรือองค์การของส่วนรวม ที่มีความเป็นระเบียบ และให้เห็นความสัมพันธ์ ของส่วนต่างๆ และความสัมพันธ์ของแต่ละส่วนกับส่วนรวมทั้งหมด อย่างชัดเจน ดังนั้น เทคโนโลยีย่อมจะต้องมีส่วนต่างๆ มากมาย และแต่ละส่วนมีผล ต่อกันและกัน และต่างก็มุ่งเพื่อให้มุ่งหมายร่วมกัน การใช้เทคโนโลยีในกิจกรรมต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่จะต้อง พิจารณาถึงผลรวมของส่วนต่างๆ ที่จะมีต่อกันและกัน ตลอดจนการที่ ส่วนต่างๆ จะมีผลต่อ ความสำเร็จของหน่วยงานอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
ส่วนในด้านความหมายของการสอนซึ่งตรงกับคำว่า Instruction มีผู้ให้ความหมายไว้ ต่างๆ กัน เช่น การสอนเป็นการถ่ายทอดความรู้จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง การสอน เป็นการสร้าง การใช้ และปรับปรุงยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของการสอนในห้องเรียนการสอน เป็นการกระทำที่เป็นระบบของครู เพื่อสร้างภาวะอันจะก่อให้เกิดความสะดวกแก่การเรียนรู้ ของผู้เรียน หากพิจารณาความหมายของการสอนตามนัยดังกล่าวมาแล้ว ความหมายของ การสอนที่กล่าวว่า "เป็นการกระทำที่เป็นระบบของครู เพื่อสร้างภาวะอันจะก่อให้เกิดความ สะดวกแก่การเรียนรู้ของผู้เรียน" เป็นความหมายของการสอนที่มีความหมายกว้าง ครอบคลุม ลักษณะของพฤติกรรมการเรียนรู้สมัยใหม่ที่สุด เพราะการเรียนรู้นั้นนักเรียนเป็นผู้กระทำเอง ภายใต้ภาวะที่ผู้สอนสร้างขึ้น เมื่อการสอนมีความหมายดังกล่าวเช่นนี้แล้ว เทคโนโลยีการสอน จึงเป็นการดำเนินการอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล หากถือว่าการศึกษา เป็นระบบ (System) การสอนก็เป็นระบบรองของการศึกษา เทคโนโลยีการสอนจึงเป็นชุดรอง หรือระบบรอง (Sub-set หรือ Sub-System) ของเทคโนโลยีทางการศึกษา
        ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาหรือโสตทัศนศึกษา ได้เปิดทำการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่งแต่ละแห่งก็มีหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ปณิธานและวัตถุประสงค์ของแต่ละแห่ง แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือการผลิตบัณฑิตทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่มีคุณภาพออกสู่สังคม ทั้งนี้บุคลกรที่มีคุณภาพจะเกิดขึ้นได้นั้น การหล่อหลอมจากสถานศึกษาและหลักสูตรการเรียนการสอนย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จหรือไม่นั้น ในทัศนะของข้าพเจ้าสรุปได้ดังนี้
       1. ด้านการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และปณิธานของวิชาชีพนั้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยยังเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้หลักสูตรจะต้องยึดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาตามกระแสของยุคสมัย โดยยังคงรากฐานที่สำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาไว้ และควรให้ความสำคัญกับการคิด วิเคราะห์ในเชิงระบบ และการประยุกต์ใช้ เนื่องจากบัณฑิตเมื่อจบการศึกษาออกไปแล้วจะต้องมีบทบาทสำคัญในการบูรณาการเทคโนโลยีกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนักเทคโนโลยีการศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และทักษะในการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับตัวสื่อและเครื่องมือมากกว่าการพัฒนารูปแบบและระบบการสอน
       2. ด้านผู้สอนและผู้เรียน การพัฒนาผู้สอนในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากปัจจุบันมีจำนวนผู้สอนในสาขาดังกล่าวค่อนข้างน้อย การสร้างผู้สอนรุ่นใหม่ยังขาดความต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนโดยตรง อีกทั้งต้องเร่งพัฒนาผู้สอนในทุกๆด้านอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เนื่องจากในโลกยุคปัจจุบันสื่อหรือนวัตกรรมได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โลกทั้งใบถูกย่อลงมาเหลือเพียงแค่จอสี่เหลี่ยมที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนส่วนใหญ่ต่างรับรู้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้สอนบางส่วนยังมีกรอบความคิดในรูปแบบเดิม ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในอนาคตได้ อีกทั้งควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาและเผยแพร่งานวิชาการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ในด้านผู้เรียนสาขาเทคโนโลยีการศึกษาจะต้องพัฒนาแนวความคิดในเชิงระบบให้มากขึ้น การพัฒนาบุคลิกภาพในการเป็นผู้นำ และความภูมิใจในวิชาชีพของตนเอง รวมทั้งการแสวงหาความรู้ใหม่ๆที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียน เพื่อที่จะสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนให้ประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะระดับบัณทิตศึกษา ที่ต้องเน้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัย ซึ่งการรับผู้เรียนที่จบจากสาขาวิชาที่หลากหลายทำให้การเรียนการสอนเป็นไปด้วยความล่าช้าและไม่สอดรับกับประสบการณ์ของแต่ละคน ฉะนั้นการรับผู้เรียนในแต่ละภาคการศึกษา จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนและจัดหลักสูตรที่หลากหลายให้สอดรับกับประสบการณ์และความถนัดให้มากที่สุด โดยเน้นกระบวนการวิเคราะห์และความคิดในเชิงระบบทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้มากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยที่หลากหลายโดยไม่เน้นไปที่การพัฒนาและสร้างสื่อเพียงอย่างเดียว การวิจัยด้านต่างๆ จะต้องได้รับการส่งเสริมให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นฐานและข้อมูลที่หลากหลายในการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษานั่นเอง
     3. ด้านวิชาชีพ ปัจจุบันมีนักเทคโนโลยีการศึกษาที่ประกอบอาชีพตามองค์กรต่างๆอยู่เป็นจำนวนมากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การที่จะส่งเสริมให้วิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้ได้รับการยอมรับและยกระดับให้ทัดเทียมกับสาขาอื่นๆ ได้นั้น องค์กรทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาจะต้องเข้มแข็งและมีกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันอยู่เสมอและต่อเนื่อง การสร้างเครือข่ายที่สามารถเชื่อมต่อได้ในทุกระดับเพื่อพัฒนาและผลักดันวิชาชีพให้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและพัฒนาการเรียนการสอนในระดับประเทศจะต้องเกิดขึ้น การส่งเสริมให้นักเทคโนโลยีการศึกษารุ่นใหม่ได้มีโอกาสแสดงความสามารถในระดับต่างๆ ยังมีน้อย สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างขององค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาและยกระดับวิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้เกิดการยอมรับอย่างกว้างขวาง และมีเกียรติในวงการศึกษา ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาต่อไป

แหล่งอ้างอิง  http://sujitrased.multiply.com/journal/item/8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น